Close

ทำไมรู้สึกปวดเมื่อยหลังออกกำลังกาย

ทำไมรู้สึกปวดเมื่อยหลังออกกำลังกาย

 

ทำไมรู้สึกปวดเมื่อยหลังออกกำลังกาย

           

 

           หลายท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าก่อนและหลังออกกำลังกายทุกครั้ง ต้องมีการวอร์มอัพ และคูลดาวน์ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุกครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกกำลังกาย และคลายกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกาย
หลายคนก็ทำตามอย่างดี ยืดเหยียดครบทุกท่าแล้ว แล้วทำไมเราถึงยังปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายอยู่ล่ะ
?

          คนที่ออกกำลังกาย แล้วหลังออกกำลังกายยังไม่ปวด แต่เมื่อได้พักผ่อนไปสักครึ่งวัน อาการปวดเมื่อยจะเริ่มมากขึ้น ซึ่งการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้ออาการกินเวลาเป็นวันได้ เพียงแต่อาการจะเป็นเพียงรู้สึกไม่ค่อยสบายเล็กน้อยหรือมีการเจ็บปวดเวลาขยับร่างกาย อาการปวดนี้เรียกว่า “DOMS” (Delayed Onset Muscle Soreness)

            DOMS (Delayed Onset Muscle Soreness) การปวดกล้ามเนื้อหลังเล่นกีฬา ซึ่ง DOMS นี้จะเริ่มมีอาการตั้งแต่ 12-24 ชั่วโมง หลังเล่นกีฬา และจะปวดเมื่อยที่สุดในช่วง 48 ชั่วโมง

 

            กลไกการเกิดอาการปวดล้าของกล้ามเนื้อคือ หลังการออกกำลังกาย เนื้อเยื่อเซลล์กล้ามเนื้อถูกทำลายจากการออกกำลังกาย ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบ ทั่วกล้ามเนื้อและบริเวณรอบๆกล้ามเนื้อ นั่นคือเป็นสาเหตุที่ทำไม ประมาณ 1-2 วันหลังออกกำลังกาย  ถึงมีอาการปวดกล้ามเนื้อ แม้ว่าเราจะยืดเหยียดกล้ามเนื้อแล้วก็ตาม

            วิธีการลดปวดหลังจากออกกำลังกายมี 4 วิธี 

1. นวด การนวดจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด ผ่อนคลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ กระตุ้นการทำงานของระบบน้ำเหลือง ทำให้กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

2. ประคบเย็น จะช่วยลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ลดอาการเกร็งตัว ทำให้อาการปวด บวมของกล้ามเนื้อลดลง

3. ยืดกล้ามเนื้อ จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ให้แก่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อที่ปวดคลายตัวได้ในระดับหนึ่ง

4. ทานโปรตีน เพื่อเสริมสร้างการซ่อมแซมของกล้ามเนื้อ

            หากท่านมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย สามารถมานวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ลดอาการปวด นอกจากนี้สามารถปรึกษานักกายภาพบำบัด เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม หรือแนะนำทรีทเมนท์ที่เหมาะสมกับท่านได้ที่เซนวนา เวลเนส สปา (ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย) ติดต่อเพื่อจองคิวและสอบถาม ได้ทางไลน์ @zenvanaspa หรือ โทร. 090-654-4269

 

            อ้างอิงจาก

1.Thilo Hotfiel. (2018). Advances in Delayed-Onset Muscle Soreness (DOMS): Part I: Pathogenesis and Diagnostics

2. Paul Ingraham . (2021). Post-Exercise, Delayed-Onset Muscle Soreness [2021,February 27]

3. Nicole Krum . (2021). Understanding Muscle Soreness – How Much is Too Much? [2021,February 28]

4. หมอกิต. (2017). ทำความรู้จักกับ DOMS: อาการปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย ชนิดไม่เฉียบพลัน https://www.runnercart.com/blog/67-doms-delayed-onset-muscle-soreness. [2021, March 1]